ถึงแม้ธุรกรรมการเงินจะเป็นเรื่องง่ายนับแต่การเข้ามาของโมบายแบงก์กิ้ง แต่โมบายแบงก์กิ้งก็ยังไม่รองรับทุกธุรกรรม และไม่ตอบโจทย์การจ่ายเงินซัพพลายเออร์หลายราย ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Virtual bank” ที่ช่วยปลดล็อกข้อจำกัดธุรกรรมการเงินในด้านต่าง ๆ ทั้งการโอนเงินระหว่างประเทศ และการรับชำระเงินหลายสกุลเงินพร้อมกันในเวลาเดียว หากอยากรู้ว่า Virtual bank หรือ Digital banking คืออะไร มาหาคำตอบกันได้เลย
สารบัญบทความ
Virtual Bank คืออะไร ?
Virtual bank คือ ธนาคารเสมือนที่ทำธุรกรรมการเงินผ่านสมาร์ตโฟนได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา ด้วยเหตุนี้จึงเรียก Virtual bank อีกชื่อหนึ่งว่า ธนาคารไร้สาขา โดยผู้ให้บริการ Virtual Banking อาจไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์แบบเดิม เพราะกระทรวงการคลังได้กำหนดเกณฑ์การจัดตั้ง Virtual bank ในไทย เอาไว้ดังนี้
- มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาทในระยะแรก และไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี
- มีสำนักงานใหญ่ในไทย
ด้วยเกณฑ์การจัดตั้งดังกล่าว ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาดำเนินธุรกิจใน Virtual bank นอกเหนือจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เช่น ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจโทรคมนาคม โดยหลังจากจัดตั้ง Virtual Bank ในไทยแล้ว คาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์คนเฉพาะกลุ่มมากยิ่งขึ้น และช่วยให้รับเงินโอนจากผู้ค้าหลายรายพร้อมกันภายใต้บัญชีเสมือน (Virtual Account)
Virtual bank ต่างจาก Traditional Bank หรือธนาคารแบบเดิมอย่างไร?
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า Virtual bank เป็นธนาคารไร้สาขา และไม่มีพนักงานประจำอยู่ที่ธนาคาร ด้วยเหตุนี้ Virtual bank จึงมีความแตกต่างจากธนาคารดั้งเดิมอยู่พอสมควร โดยมีความแตกต่างอยู่หลัก ๆ 2 ข้อ ดังนี้
- บริหารความเสี่ยงสินเชื่อได้ดีกว่าธนาคารพาณิชย์
Virtual Bank จัดเก็บข้อมูลผู้ขอสินเชื่อมาจากช่องทางต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลเครดิตบูโร ประวัติการชำระเงินของลูกหนี้ในอดีต ไปจนถึงข้อมูลการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งข้อมูลบางอย่าง Virtual Bank จัดเก็บได้ดีกว่าธนาคารพาณิชย์ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว Virtual Bank จะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์พฤติกรรมการเงินของผู้ขอสินเชื่อรายนั้นว่า มีความสามารถในการชำระหนี้ได้หรือไม่
- ลดต้นทุนในการดำเนินงาน
การเปิดสาขาธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ รวมไปถึงค่าอุปกรณ์ในการดำเนินงาน แต่เมื่อมีธนาคารไร้สาขาแล้ว ธนาคารพาณิชย์ก็จะทยอยลดจำนวนสาขาลง และมีแนวโน้มออกผลิตภัณฑ์การเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้เปิดบัญชีธนาคารไม่ได้ เพราะไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนทางราชการ นอกจากนี้ผู้ที่เคยขอสินเชื่อธนาคารไม่ผ่าน ก็มีโอกาสขอสินเชื่อจาก Virtual Bank ได้ ด้วยผลิตภัณฑ์การเงินแบบใหม่
ลักษณะบริการ Virtual Bank มีอะไรบ้าง?
นอกจากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ Virtual bank แตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไปแล้ว Virtual bank ยังมีบริการอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกด้วย เช่น
- ชำระเงินค่าสินค้าและบริการ หลายรายการได้แบบอัตโนมัติ
- บัตรเครดิตอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์
- เลือกระบบการชำระได้หลายรูปแบบ เช่น Real Time Gross Settlement (RTGS) และ P2P Payments เป็นต้น
- ขอบัญชี Statement ทางการย้อนหลังได้ โดยไม่ต้องทำเรื่องที่ธนาคาร
- ติดตามธุรกรรมการเงินย้อนหลังได้ตลอดเวลา
จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ virtual bank มีข้อดีที่ช่วยให้คนเข้าถึงมากมาย ส่วนข้อเสียสำคัญ คือ ต้องเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต และมีความรู้ด้านเทคโนโลยีถึงจะใช้บริการ virtual bank ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธนาคารเสมือน (Virtual Bank) VS บัญชีเสมือน (Virtual Account) คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?
นอกจากธนาคารเสมือน (Virtual bank) หลายคนอาจเคยได้ยินสิ่งที่เรียกว่าบัญชีเสมือน (Virtual Account) เช่นกัน โดยทั้งสองอย่างแตกต่างกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- Virtual Account ผู้ให้บริการไม่ใช่ธนาคาร
ผู้ให้บริการ Virtual Bank กับ Virtual Account ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้ให้บริการ Virtual Bank ต้องได้รับใบอนุญาต (license) จากหน่วยงานกำกับ ตัวอย่างเช่น Monzo หรือ Revolut ซึ่งเป็นธนาคารเสมือนจากประเทศอังกฤษ ทำให้มีสถานะเทียบเท่ากับธนาคารพาณิชย์ และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารเสมือนต้องสอดคล้องไปกับธนาคารกลาง
ในขณะที่ Virtual Account ผู้ให้บริการเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินรูปแบบอื่น ไม่มีใบอนุญาต Virtual Bank จึงไม่ได้มีสถานะเทียบเท่าธนาคารพาณิชย์ แต่อยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานภาครัฐ และได้รับใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกับ Virtual Bank
โดยตัวอย่างของ Virtual Account เช่น PingPong Payments แพลตฟอร์มที่ช่วยอำนวยความสะดวกการทำธุรกรรมชำระเงินระหว่างประเทศ โดยได้รับใบอนุญาตจากสถาบัน CSSF ในการดำเนินธุรกิจโอนเงินระหว่างประเทศในกลุ่ม EU และได้รับใบอนุญาตการดำเนินธุรกิจการเงินผ่านระบบกรมศุลกากร กรมสรรพสามิตในฮ่องกง ส่วนในสหรัฐอเมริกา PingPong Payments ดำเนินธุรกิจการเงินภายใต้กฎระเบียบของเครือข่ายปราบปรามอาชญากรรมทางการเงินแห่งสหรัฐฯ และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป (GDPR)
- Virtual Bank ทำธุรกรรมการเงินได้ทุกรูปแบบ
Virtual Bank ออกแบบมาให้ทำธุรกรรมการเงินได้เหมือนกับธนาคารพาณิชย์ และฝากเงินเข้ามาในบัญชีได้ โดยการฝากเงินเข้ามาใน Virtual Bank อาจได้รับดอกเบี้ยเป็นรายวัน ตามที่ Virtual Bank แห่งนั้นกำหนด อีกทั้งเจ้าของบัญชีก็สามารถเลือกรูปแบบบัญชีเงินฝากที่ต้องการได้ ในขณะที่ Virtual Account ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมการเงินได้ทุกอย่างเหมือนกับ Virtual Bank และเมื่อโอนเงินเข้ามาใน Virtual Account ก็ไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากอีกด้วย
- Virtual Account ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินไม่ได้
ข้อแตกต่างระหว่าง Virtual Bank และ Virtual Account อีกประการนั่นคือ Virtual Account ไม่มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ทั้งสิ้น ในขณะที่ Virtual Bank ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินของตนเองได้ เช่น บัตรเครดิตอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ไปจนถึงเสนอบริการพิเศษให้แก่เจ้าของบัญชี อาทิ ระบบทำบัญชีออนไลน์ หรือบริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
อย่างไรก็ดีบัญชีเสมือน ก็มีบริการอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น
- รองรับการชำระเงินกับผู้รับหลายคนพร้อมกันในเวลาเดียว และเปิดได้หลายบัญชีตามที่ต้องการ
- เปิดบัญชีฟรี ไม่มีขั้นต่ำ ใช้เวลาอนุมัติบัญชีไว ไม่ถึง 24 ชั่วโมง
- รับ-ส่งเงินได้หลายสกุลเงินทั่วโลก โดยเสียค่าธรรมเนียมต่ำไม่เกิน 1%
- ให้บริการแลกเปลี่ยนสกุลเงินในบัญชีเสมือน โดยให้เรตแลกเปลี่ยนดีกว่าเรตธนาคารพาณิชย์
- มาพร้อมกับช่องทางจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจัดการภาษีอื่นๆ
- เชื่อมต่อกับบัญชีผู้ขาย Marketplace ต่างๆ และรวมทุกบัญชีผู้ขายมารวมไว้ภายใต้บัญชีเสมือน เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ
- ส่งใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินกับคู่ค้าที่ต้องการได้
- ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ประกอบการ E-commerce จำนวนมากเลือกเปิดบัญชีเสมือน แทนการรับเงินผ่านบัญชีธนาคารแบบเดิม เพราะการใช้บัญชีธนาคารพาณิชย์รับเงิน แยกแยะยากว่าคู่ค้าต้นทางรายใดโอนเงินเข้ามา และไม่เหมาะแก่การติดตามการชำระเงินของคู่ค้าย้อนหลัง นอกจากนี้การรับเงินโอนข้ามประเทศผ่านระบบ Swift ของธนาคารพาณิชย์ ผู้รับปลายทางใช้เวลารับเงินนานหลายวัน และค่าธรรมเนียม (FX) ผ่านระบบธนาคารสูงกว่าการรับเงินผ่านบัญชีเสมือนอีกด้วย
ก้าวข้ามขีดจำกัดไปอีกขั้น ด้วยการเปลี่ยนการทำธุรกรรมด้วยบัญชีเสมือนจริง
ธุรกรรมซื้อขายระหว่างคู่ค้าและซัพพลายเออร์ข้ามประเทศผ่านระบบธนาคารเป็นเรื่องยุ่งยาก ทั้งต้องกรอกเลข Swift Code และเตรียมเอกสารจำนวนมาก เช่น เอกสารแสดงวัตถุประสงค์การโอนเงิน และการโอนเงินไปต่างประเทศอาจไม่สำเร็จ หากเกิดความขัดข้องที่ธนาคารตัวกลาง ยิ่งไปกว่านั้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านธนาคารสูงมาก ทำให้กำไรของผู้ขาย E-commerce ลดลง
การทำธุรกรรมด้วยบัญชีเสมือน (Virtual Account) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่แห่งโลก FinTech จะเข้ามาปฏิวัติรูปแบบการโอนเงินระหว่างประเทศให้ผู้ขาย E-commerce รับเงินสกุลต่างประเทศในเรตที่ดีกว่าธนาคารพาณิชย์ ทำให้ผู้ขาย E-commerce ที่ขยายธุรกิจไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในเอชีย ยุโรป รวมทั้งอเมริกา บริหารจัดการความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนของหลายสกุลได้ง่าย และค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศของ Virtual Account สูงสุดไม่เกิน 1%
บัญชีที่รองรับสกุลเงินระดับโลก: โอกาสทองสำหรับการขยายธุรกิจข้ามพรมแดน
เพื่อให้การซื้อขายระหว่างคู่ค้าและซัพพลายเออร์ง่ายกว่าที่เคย ขอแนะนำการเปิดบัญชีเสมือนจาก PingPong Payments ที่สามารถเชื่อมต่อกับมาร์เก็ตเพลสชั้นนำทั่วโลก ให้การรับเงินง่าย และสะดวก รองรับสกุลเงินมากกว่า 50 สกุลเงิน เปิดบัญชีฟรี โอนฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม
รับเงินและโอนเงินไปต่างประเทศด้วยบัญชีเสมือน หรือ Virtual Account สำหรับผู้ประกอบการ B2B Trader และ Cross-border E-commerce
Virtual bank ธนาคารเสมือนที่สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตและสมาร์ตโฟน ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารแบบเดิมอีกต่อไป สามารถชำระค่าบริการได้อัตโนมัติ รองรับการชำระเงินหลายรูปแบบ นอกจากนี้ ยังให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันอีกด้วย
นอกจากธนาคารเสมือนที่มีข้อดีน่าสนใจแล้ว บัญชีเสมือน หรือ Virtual Account ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะช่วยให้การรับจ่ายเงินสะดวก รวดเร็วกว่าเดิม PingPong Payments บริการบัญชีเสมือนเพื่อธุรกิจ E-commerce รองรับการชำระเงินจากทั่วโลก ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนระหว่างบัญชี PingPong Payments และค่าธรรมเนียมต่ำกว่า 1% สำหรับการถอนไปยังบัญชีพาณิชย์ท้องถิ่น